PYLONTEC CO.,LTD.

สาหกรรม (มอก.332 - 2537)เครื่องดับเพลิงได้รับมาตรฐานอุต
อุปกรณ์ดับเพลิงทุกชนิดตามมาตรฐาน FM , U/L , BS , DIN JIS
รับตรวจเช็คระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ระบบปั๊มน้ำดับเพลิง และอุปกรณ์ดับเพลิงทุกประเภท
  • เครื่องดับเพลิงและอุปกรณ์ดับเพลิงทุกชนิดได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรม         (มอก. 332 - 2537)
  • บริการตรวจเช็คเครื่องดับเพลิงและอุปกรณ์ดับเพลิง "ฟรี " โดยช่างผู้ชำนาญ
  • รับบรรจุน้ำยาดับเพลิงทุกชนิด
  • รับตรวจเช็คออกแบบติดตั้ง และรับเหมางานระบบดับเพลิง FIRE  PUMP , FIRE  ALARM , SPRINKLER  SYSTEM
  • ไฟฉุกเฉิน EMERGENCY LIGHT MAX BRIGHT ป้ายทางออก FIRE EXIT MAX BRIGHT ทุกรุ่น ทุกขนาดมาตรฐาน CE,มอก.
  • จำหน่ายอุปกรณ์นิรภัยส่วนบุคคล

ติดต่อเบอร์โทรออฟฟิศได้ที่ 02-4632261-2,02-4632268

 

สายด่วน 081-7535860,081-3721844,086-6605090


แผนการตรวจเช็คอุปกรณ์ดับเพลิงและระบบดับเพลิงเบื้องต้น

1.ถังดับเพลิง แบบยกหิ้ว PORTABLE  FIRE  EXTINGUISHER ตรวจทุก 3 - 6  เดือน/ครั้ง

2. ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ FIRE  ALARM  SYSTEMS
    2.1 ตัวกดแจ้งเหตุเพลิงไหม้ MANUAL  STATION ตรวจทุก 1 เดือน/ครั้ง
    2.2 ตู้ควบคุมระบบไฟอลาม FIRE  ALARM  CONTROL  PANEL ตรวจทุก 1 เดือน/ครั้ง
    2.3 ตัวสัญญาณจับควันไฟ SMOKE  DETECTOR ตรวจทุก 3 - 6 เดือน/ครั้ง (กรณีที่มีฝุ่นหรือความชื้นสูงอาจต้องทำการตรวจทุกเดือน)
    2.4 ตัวสัญญาณจับความร้อน HEAT  DETECTOR ตรวจทุก 6 เดือน/ครั้ง

3. ระบบปั๊มน้ำดับเพลิง FIRE ENGINE  PUMPS ตรวจตามแผนการซ่อมบำรุงรักษา โดยต้อสตาร์ทชุดปั๊มดับเพลิงสัปดาห์ละครั้ง

4. สายฉีดน้ำดับเพลิงFIRE  HOSE & FIRE  HYDRANT ตรวจทุก 6 เดือน/ครั้ง * สายฉีดน้ำดับเพลิงต้องทำ HYDROSTATIC  TEST ปีละครั้ง

5. ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ FIRE  SUPPERSSION  SYSTEM  FM-200  CO2 และประเภทก๊าซเฉื่อยต่างๆ ตรวจเช็คทุกๆ 3 - 6 เดือน/ครั้ง

6. การเลือกบริษัททำการบรรจุเคมีดับเพลิง ควรเลือกบริษัทที่ได้รับอนุญาต มอก. 332 - 2537
    (มีกฎหมายควบคุมการทำหรือบรรจุ หากไม่ได้รับอนุญาต ฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา  48 จำคุก 2 ปี หรือปรับ 1 แสนบาท ดังนั้นหากมีการบรรจุเคมีดับเพลิงต้องตรวจสอบดังนี้
    6.1 ตรวจดูใบอนุญาต ชื่อบริษัทตรงกับผู้ที่จะมาให้บริการหรือไม่
    6.2 ตรวจดูระดับความสามารถในการดับเพลิง FIRE  RATING ดับได้ในระดับใด ตามที่ได้รับอนุญาต
    6.3 ตรวจดูฉลาก (หลังการบรรจุต้องปิดฉลากแสดงการทำ ตามข้อกำหนดใน มอก. 332 - 2537)ว่าถุกต้องตามข้อ 6.1,6.2 หรือไม่ รวมถึงการรับประกันหลังการบรรจุ

การจัดระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยและการประยุกต์ใช้
ระบบและอุปกรณ์ที่มีอยู่ในสถานประกอบการณ์

การป้องกันอัคคีภัยที่มีประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 3 ประการ
    1. คุณภาพของคน สร้างทัศนคติแก่พนักงานให้มีความเตรียมพร้อมเสมอ

    2. คุณภาพของเครื่องมือ เลือกใช้เครื่องมือและระบบป้องกันอัคคีภัยและระบบป้องกันต่างๆ ที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพได้มาตรฐาน

    3. คุณภาพของสารเคมีดับเพลิง ถังดับเพลิง การเตรียมอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัยนั้นต้องพิจารณาตามความสำคัญ ความจำเป็นและความเหมาะสม
ตามลักษณะของสถานประกอบการ

1. ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm System)
ทาง " ไพลอนเทค " ได้มีการบริการออกแบบตรวจเช็คติดตั้งและซ่อมแซมระบบใช้สัญญาณเตือนภัย ทุกชนิด ประกอบด้วย

    1.1 อุปกรณ์ตรวจจับและส่งสัญญาณ ( DETECTOR ) ได้แก่
          - อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ( HEAT  DETECTOR ) เป็นตัวตรวจจับความร้อนที่อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลัน 15 F ภายใน 1 นาที มี Indicating Lamp
สามารถใช้ตู้ควบคุมที่ใช้ไฟ DC.24V
         
- อุปกรณ์ตรวจจับควัน ( SMOKE  DETECTOR ) จะทำงานโดยการหักเหของแสง ซึ่งจะส่งสัญญาณ และ Indicating Lamp จะติดขึ้น สามารถใช้ตู้ควบคุมที่ใช้ไฟ DC.24V และยังมีแบบ Stand Alone ที่ใช้แบบ 9 V. และ 220 V. อีกด้วย

    1.2 อุปกรณ์กำเนิดเสียง ได้แก่
          - BELL (กระดิ่ง) มักติดควบคู่กับตัวแจ้งเหตุอัคคีภัย ( MANUAL STATION ) มีความดังกว่า
            100 db. เหมาะสำหรับติดตั้งในสถานที่ที่มีผู้คนจำนวนมาก
          - ELEATRONIC  SIREN เป็นทางเลือกใหม่ของกระดิ่ง คุณสมบัติเหมือน BELL แต่สามารถทำได้ถึง 3 เสียง เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกเสียงที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ได้ มีจำหน่ายที่
            " ไพลอนเทค " เท่านั้น

    1.3 ตัวแจ้งเหตุ ( MANUAL  STATION )
          - BREAK  GLASS คือ เมื่อกดปุ่มที่กระจกแล้วสัญญาณจะส่งไปยังตู้ควบคุมทันที เพื่อแจ้งเหตุเป็นแบบกดแล้วกระจกแตก เพื่อให้ทราบทันทีว่ามีคนกดแจ้งเหตุ
         - PUSH  BUTTON ทำงานเหมือน BREAK  GLASS แต่เมื่อกดปุ่มที่กระจกแล้วจะไม่แตกสามารถ RESET ใหม่ได้ทันที

    1.4 ชุดควบคุม ( CONTROL  PANEL ) มีหน้าที่เป็นแผงศูนย์รวมเพื่อจ่ายกำลังงานไปยังอุปกรณ์กำเนิดเสียง เมื่อได้รับสัญญาณจากอุปกรณ์ตรวจ มันจะส่งเสียงเตือนตลอดจนกว่าจะเข้าสู่ภาวะ ปกติ นอกจากนั้นชุดควบคุมยังสามารถสั่งปิดท่อน้ำมัน ท่อก๊าซ เพื่อกันไฟลุกลามได้อีกด้วย
 
 ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้เป็นอุปกรณ์เตือนขณะเกิดเพลิงไหม้ได้ทันท่วงทีและเป็นการเตือนให้หนีไฟ เพื่อปฏิบัติตามแผนที่ได้วางไว้ ซึ่งควรปฏิบัติดังนี้

    - สถานประกอบกิจการตั้งแต่ 2 ชั้นขึ้นไป จะต้องติดตั้งระบบหรืออุปกรณ์ หรือสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ โดยมีระดับความดังของเสียงไม่น้อยกว่า 100 เดซิเบล
    - สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้จะต้องมีเสียงที่แตกต่างไปจากเสียงที่ใช้ในสถานประกอบการ และห้ามใช้เสียงสัญญาณดังกล่าวที่ไม่เกี่ยวข้องกับการแจ้งเหตุเพลิงไหม้
    - ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้และระบบอุปกรณ์เตือนภัยจากอัคคีภัย จะต้องทำงานได้ตลอดเวลาเมื่อต้องใช้หรือเมื่อเกิดอันตรายจากอัคคีภัย
    - มีการทดสอบประสิทธิภาพในการทำงานอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
   
หรือโดยการใช้ SMOKE  DETECTOR TESTER หรือ HEAT  DETECTOR  TESTER และ SMOKE  DETECTOR  CLEANER ซึ่งทาง " ไพลอนเทค " มีจำหน่ายครบชุด โดยจะเป็นตัวทดสอบ


อุปกรณ์ตรวจจับควันและความร้อน ตลอดจนอุปกรณ์ทำความสะอาดภายในตัวจับควันที่มีประสิทธิภาพโดยไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และบุคคล ทำให้สามารถมั่นใจได้ว่าอุปกรณ์ตรวจจับควันหรือความร้อนนั้นๆ พร้อมที่จะทำงานเมื่อเกิดเหตุการณ์จริง
 
2. ไฟฉุกเฉิน EMERGENCY LIGHT 
    การดูแลรักษาเครื่องหลังการติดตั้งไฟฉุกเฉิน
    ฝ่ายช่างประจำอาคาร ต้องมีการตรวจสอบระบบการทำงานของไฟฉุกเฉิน ทุกๆ เดือน โดยมีวิธีทดสอบ ดังนี้

    2.1 ทดสอบที่ตัวไฟฉุกเฉิน โดยกดสวิตซ์ TEST หลอดไฟฉุกเฉินที่ต่ออยู่กับเครื่องจะติดสว่าง ปล่อยสวิตซ์หลอดไฟฉุกเฉินที่ต่อกับเครื่องจะดับ

    2.2 ถอดปลั๊กของไฟฉุกเฉินออก หลอดไฟฉุกเฉินที่ต่ออยู่กับเครื่องจะติดสว่าง ให้ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที หลังการทดสอบให้เสียบปลั๊กไฟของไฟฉุกเฉินเข้ากับเต้าเสียบเหมือนเดิมเพื่อให้มีการอัดประจุไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่


สาเหตุที่ต้องมีการทดสอบไฟฉุกเฉิน ทุกๆ เดือน มีดังนี้
    1. แบตเตอรี่จะได้มีการคาย และอัดประจุไฟฟ้า เพื่อป้องกันเกิดการเสื่อมสภาพของสารเคมีที่มีภายในแบตเตอรี่ หรือเกิดการลัดวงจรของเซลล์แบตเตอรี่ มีผลทำให้แบตเตอรี่เสื่อมสภาพการทำงาน และหมดอายุการใช้งานเร็วขึ้น
    2. ทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ไฟฉุกเฉินว่าทำงานเป็นปกติหรือไม่ ถ้าการทำงานไม่เป็นปกติ ให้รีบแจ้งฝ่ายบริการของทางบริษัทฯ ทันที

 
ทดสอบ รีโมท max bright กับรุ่น cpm26

 
3. ระบบดับเพลิง ( Fire Protection System )

     " ไพลอนเทค " รับเหมาติดตั้งระบบดับเพลิงและท่อน้ำดับเพลิง บริการตรวจเช็ค ซ่อมแซมบำรุงรักษา จำหน่ายและติดตั้งปั๊มน้ำดับเพลิง และระบบท่อน้ำดับเพลิงครบวงจร
 
   3.1 ปั๊มน้ำดับเพลิง ( FIRE  PUMP )

           ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบการต่างๆ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีปั๊มน้ำดับเพลิงไว้สำหรับปั๊มน้ำจากน้ำสำรองที่มีอยู่ เพื่อควบคุมและดับเพลิงที่เกิดขึ้นมิให้ขยายลุกลาม โดยเฉพาะเมื่อระบบไฟฟ้าถูกต้อง ปั๊มน้ำดับเพลิงตามมาตรฐาน UL จะมีอยู่หลายขนาด เช่น 500,700 และ 1,200 GPM ความดันใช้งาน 100 - 120 PSI



3.2 ปริมาณน้ำสำรอง
           ควรต้องเตรียมน้ำสำรองในการควบคุมและดับเพลิงที่เกิดขึ้นอย่างน้อยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยกำหนดให้นายจ้างจัดเตรียมน้ำสำรองไว้ใช้ในการดับเพลิงในกรณีที่ไม่มีท่อจ่ายน้ำดับเพลิงของทางราขการในบริเวณที่สถานประกอบการตั้งอยู่      
 
     3.3 สายฉีดน้ำดับเพลิง
           3.3.1 สายฉีดน้ำดับเพลิงภายในอาคาร
                       - แบบสายอ่อนพับแขวนอยู่ภายในตู้ ( HOSE  RACK ) มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 1.5 และ 2.5 นิ้ว ทำด้วยผ้าใบและเส้นใยสังเคราะห์ มีความยาวมาตรฐาน 20 และ 30 เมตร การใช้งานมีข้อจำกัดที่จะต้องลากสายออกให้สุดก่อน น้ำถึงจะไหลออกมาได้ ฉะนั้นจึงไม่เหมาะกับบริเวณที่แคบ
                         - แบบสายพับแขวนอยู่ภายในตู้ ( HOSE REEL ) เป็นสายที่มีการไหลของน้ำ 50 GPM โดยข้อดีที่ผู้ใช้สามารถลากสายออกจากที่เก็บตามความยาวที่ต้องการใช้ เหมาะสำหรับในอาคาร โรงงานแคบๆ และ สำนักงาน
         
 3.3.2 สายฉีดน้ำดับเพลิงภายนอกอาคาร
                         ใช้ต่อกับท่อจ่ายน้ำ ( HYDRANT ) แบบสวมเร็วใช้ในการต่อสู้กับไฟที่ลุกลามขั้นรุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีขนาด 1.5 และ 2.5 นิ้ว มีความยาว 20 และ 30 เมตร
     3.4 อุปกรณ์หัวฉีดน้ำดับเพลิงและหัวฉีดชนิดต่างๆ มี 2 แบบ คือ
             3.4.1 ชนิดฉีดน้ำเป็นลำตรง ( STRAIGHT )
                         เป็นหัวฉีดที่ปรับไม่ได้ น้ำที่ออกมาจะเป็นลำ โดยตำรวจดับเพลิง และบรรเทาสาธารณภัย เหมาะสำหรับฉีดน้ำดับเพลิงในระยะไกลๆ
               3.4.2 ชนิดฉีดน้ำเป็นฝอย ( FOG )
                          เป็นหัวฉีดที่สามารถปรับน้ำให้เป็นลำหรือเป็นฝอย โดยมีรัศมีตั้งแต่ 0-120 องศา เป็นตัวไล่ไอของสารให้เจือจาง และกันรังสี ความร้อน เปลวไฟ เพื่อเข้าปิดวาล์วดับเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหัวฉีดน้ำนี้เป็นที่นิยมใช้กันอย่างมาก     

4. ระบบกระจายน้ำดับเพลิง ( SPRINKLER  SYSTEM )
     " ไพลอนเทค " พร้อมบริการออกแบบติดตั้งงานระบบ SPRINKLER  SYSTEM เพื่อความพร้อมในการดับเพลิงได้ทันทีอย่างอัตโนมัติ ตามความต้องการ โดยการฉีดน้ำกระจายลงมาคลุมบริเวณที่เป็นต้นเหตุของเพลิงทำให้เพลิงดับลงอย่างรวดเร็ว ไม่สามารถขยายตัวไปยังพื้นที่ข้างเคียง เป็นการป้องกันชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 ทั้งนี้ในกรณีที่มีระบบน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ ต้องปฏิบัติดังนี้
     (1) ระบบดับเพลิงอัตโนมัติต้องได้มาตรฐานที่ทางราชการกำหนด
     (2) ต้องเปิดวาล์วประธานที่ควบคุมระบบจ่ายน้ำเข้าอยู่ตลอดเวลา
     (3) ต้องติดตั้งสัญญาณเพื่อเตือนภัยในขณะที่ระบบน้ำดับเพลิงอัตโนมัติกำลังทำงาน หรือ กรณีอุปกรณ์ตัวหนึ่งตัวใดในระบบผิดปกติ
     (4) ต้องไม่มีสิ่งกีดขวางทางน้ำจากหัวฉีดน้ำดับเพลิงของระบบนี้อย่างน้อย 60 เซนติเมตรโดยรอบ
 

ติดต่อเบอร์โทรออฟฟิศได้ที่ 02-4632261-2,02-4632268

 

สายด่วน 081-7535860,081-3721844,086-6605090