ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ คือ ระบบที่สามารถตรวจจับการเกิดเพลิงไหม้และแจ้งผลให้ผู้อยู่ในอาคารทราบโดยอัตโนมัติและแจ้งเหตุได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและมีความเชื่อถือได้สูง เพื่อให้ผู้อาศัยในอาคารหนีไฟไปยังที่ปลอดภัยสูงขึ้น เป็นผลให้ลดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินได้มากระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้มีทั้งระบบที่ทำงานเป็นอิสระและระบบที่ทำงานร่วมกับระบบรักษาความปลอดภัยอื่นๆการออกแบบและติดตั้งระบบสัญญาณแงเหตุเพลิงไหม้จึงต้องมีข้อมูลพร้อมทั้งข้อมูลของตัวระบบเอง และลักษณะอาคารหรือพื้นที่ๆใช้งาน
1. ความรู้ทั่วไป
ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ คือ ระบบที่สามารถตรวจจับการเกิดเพลิงไหม้และแจ้งผลให้ผู้อยู่ในอาคารทราบโดยอัตโนมัติและแจ้งเหตุได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและมีความเชื่อถือได้สูง เพื่อให้ผู้อาศัยในอาคารหนีไฟไปยังที่ปลอดภัยสูงขึ้น เป็นผลให้ลดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินได้มาก ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้มีทั้งระบบที่ทำงานเป็นอิสระและระบบที่ทำงานร่วมกับระบบรักษาความปลอดภัยอื่นๆ การออกแบบและติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้จึงต้องมีข้อมูลพร้อมทั้งข้อมูลของตัวระบบเอง และลักษณะอาคารหรือพื้นที่ที่ใช้งาน
1.1 การเกิดเพลิงไหม้
รูปสามเหลี่ยมปัจจัยการเกิดเพลิงไหม้
2. พัฒนาการของเพลิงไหม้
การเกิดเพลิงไหม้เริ่มจากจุดเล็กๆ ก่อนและขยายใหญ่ขึ้น มีความร้อนสูงขึ้น และลุกลามออกไปเรื่อยๆ การศึกษาการเกิดเพลิงไหม้จะทำให้ทราบลักษณะของการเกิดเพลิงไหม้ การเกิดเพลิงไหม้สามารถแบ่งออกเป็นระยะต่างๆ 4 ระยะ คือ
2.1 ระยะเริ่มต้น (Incipient Stage) เป็นระยะเมื่อเริ่มเกิดเพลิงไหม้ จะเริ่มด้วยการสลายตัวของวัสดุเนื่องจากความร้อน ระยะนี้จะเกิดเป็นอนุภาคเล็กๆ จำนวนมาก อนุภาคอาจจะมีขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอน (หนึ่งไมครอนมีขนาดเท่ากับเศษหนึ่งส่วนล้านเมตร) ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อนุภาคเหล่านี้มีทั้งอนุภาคที่เป็นของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ระยะนี้จึงไม่สามารถทราบได้ว่าเกิดเพลิงไหม้
2.2 ระยะเกิดควัน (Visible Smoke) จากระยะเริ่มต้น หากการเกิดเผาไหม้ยังคงดำเนินต่อไป จะเกิดควันที่สามารถมองเห็นได้ อนุภาคที่เกิดจากความร้อนจะมีจำนวนมากขึ้นจนทำให้สามารถมองเห็นได้ ระยะนี้ยังไม่มีความร้อนมากพอที่จะทำให้การลุกไหม้ดำเนินต่อไปได้
2.3 ระยะเกิดเปลวเพลิง (Flaming Fire) เมื่อสะสมจนมีความร้อนมากพอ อนุภาคที่มีร้อนมากจะลุกติดไฟ
และเกิดเป็นเปลวเพลิงหรือเปลวไฟ เปลวไฟนี้จะมีพลังงานมากพอที่จะจุดติดอนุภาคอื่นๆ ให้ลุกติดไฟต่อไปได้ เรียกว่าเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ ความร้อนจะสูงขึ้น และการเกิดเพลิงไหม้จะดำเนินต่อไปเรื่อยๆ
2.4 ระยะความร้อนสูง (Intense Heat) เมื่อการเกิดเพลิงไหม้ขยายใหญ่ขึ้น ปริมาณความร้อนที่เกิดก็จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ระยะนี้เป็นระยะที่ก่อให้เกิดความเสียหายสูง การดับเพลิงทำได้ยาก
รูปพัฒนาการของไฟในระยะต่างๆ
3. การทำงานของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ร่วมกับระบบป้องกันอัคคีภัยอื่นๆ
โดยปกติระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันอัคคีภัยสามารถจัดให้ทำงานร่วมกันได้ แต่ในการเลือกใช้ ควรพิจารณาจากความเหมาะสมในการติดตั้ง แก้ไขและบำรุงรักษา ความแม่นยำ ประสิทธิภาพ และความรวดเร็วในการตรวจสอบเมื่อการทำงานบกพร่อง ที่สำคัญต้องไม่กระทบต่อหน้าที่หรือการทำงานตามปกติของอุปกรณ์อื่น
3.1 ทำงานร่วมกับระบบดับเพลิงด้วยสารดับเพลิงพิเศษ เมื่อระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ได้รับสัญญาณแจ้งเหตุ แผงควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องส่งสัญญาณไปแจ้งให้ระบบดับเพลิงปล่อยก๊าซ โฟม หรือสารเคมีประเภทอื่นๆ เพื่อดับเพลิง
3.2 ทำงานร่วมกับระบบลิฟท์ เมื่อระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ได้รับสัญญาณแจ้งเหตุ แผงควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องส่งสัญญาณไปแจ้งให้ลิฟท์ทุกชุดในอาคารลงจอดที่ระดับชั้นล่าง ระดับพื้นดินหรือชั้นที่กำหนด เพื่อให้คนออกจากลิฟท์
3.3 ทำงานร่วมกับระบบพัดลมอัดอากาศ เมื่อระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ได้รับสัญญาณแจ้งเหตุ แผงควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องส่งสัญญาณไปแจ้งให้ระบบพัดลมอัดอากาศทำงาน อัดอากาศลงมาในช่องบันไดหนีไฟเพื่อไม่ให้ควันเข้าไปในบันไดหนีไฟ
3.4 ทำงานร่วมกับระบบดับเพลิงของอาคาร เมื่อระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ได้รับสัญญาณแจ้งเหตุ แผงควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องส่งสัญญาณไปให้ระบบ Fire Pump, Jockey Pump ทำงาน
3.5 ทำงานร่วมกับระบบควบคุมควันไฟ เมื่อระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ได้รับสัญญาณแจ้งเหตุ แผงควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องส่งสัญญาณไปให้ระบบควบคุมควันไฟ เครื่องส่งลมเย็น ลิ้นกันไฟ และลิ้นกันควันทุกชุดทำงานตามที่กำหนด เพื่อไม่ให้ควันกระจายไปในบริเวณอื่น
3.6 ทำงานร่วมกับระบบปิดประตู แผงกั้นไฟ และระบบปลดล็อกประตูอัตโนมัติ เมื่อระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ได้รับสัญญาณแจ้งเหตุ แผงควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องส่งสัญญาณไปให้ระบบปิดประตู แผงกั้นไฟ และระบบปลดล็อกประตูอัตโนมัติทำงาน เพื่อให้คนอพยพออกมาได้อย่างปลอดภัย
4. อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ
เป็นอุปกรณ์เริ่มสัญญาณที่ทำงานโดยอาศัยการกระตุ้นจากบุคคล โดยการดึง หรือทุบกระจกให้แตก มีลักษณะเป็นสวิตช์ไฟฟ้า ลักษณะการทำงานนี้เป็นแบบจังหวะเดียว (Single Action) หรือผู้ที่ต้องการแจ้งเหตุเพลิงไหม้จะต้องทุบกระจกให้แตกแล้วค่อยดึง ลักษณะการทำงานนี้เป็นแบบสองจังหวะ (Double Action) การปรับตั้งใหม่ (Reset) จะทำได้โดยต้องใช้เครื่องมือประกอบ เช่น ใช้กุญแจ ไขควง หรือประแจ เป็นต้น
Key Switch เป็นอุปกรณ์แจ้งเหตุ Alarm ลักษณะคล้ายกุญแจ ทำงานจังหวะเยวโดยการบิดไปทางซ้ายหรือขวา การ Reset ทำโดยการบิดกลับตำแหน่งเดิม
รูปอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือแบบต่างๆ
5. อุปกรณ์ตรวจจับควัน
รูปตัวอย่างอุปกรณ์ตรวจจับควัน
5.1 ชนิดของอุปกรณ์ตรวจจับควัน แบ่งตามการตรวจจับควันออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดไอโอไนเซชั่น (Ionization type) และชนิดโฟโตอิเล็กตริก (Photoelectric type)
5.1.1 ชนิดไอโอไนเซชั่น เป็นอุปกรณ์ตรวจจับควันประกอบด้วยกล่องที่ภายในมีแผ่นโลหะที่มีขั่วไฟฟ้าต่างกันและมีสารกัมมันตภาพรังสี (Radioactive) ซึ่งจะทำหน้าที่กระตุ้นให้อากาศภายในกล่อง (Chamber) เกิดการแตกตัว ไอออนของอากาศในกล่อง จะทำหน้าที่เป็นตัวนำไฟฟ้าให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ระหว่างสองขั้ว เมื่อมีควันเข้าไปในกล่อง ค่าความนำไฟฟ้าของอากาศจะลดลง กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านจะลดลงด้วย เมื่อกระแสลดลงถึงค่าที่ตั้งไว้ แผงควบคุมจะสามารถตรวจค่านี้ได้และทำงานตามที่ได้ออกแบบไว้ต่อไป
5.1.2 ชนิดโฟโตอิเล็กตริก สามารถตรวจจับควันที่หนาทึบได้ดี มีหลักการทำงานสองแบบ คือ แบบควันบังแสง และแบบควันหักเหแสง
(1) แบบควันบังแสง (Light Obscuration) ลักษณะการทำงานจะมีแหล่งกำเนิดแสงและตัวรับแสง ปกติปริมาณแสงที่ตัวรับแสงได้จะมีค่าแน่นอนอยู่ค่าหนึ่ง เมื่อมีควันเข้าไปในกล่อง แสงที่ส่องไปกระทบตัวรับแสงจะถูกบังด้วยอนุภาคของควัน เมื่อต่ำถึงค่าที่ตั้งไว้อุปกรณ์ตรวจจับจะตรวจได้และทำงาน โดยปกติสีของควันจะไม่มีผลต่อการทำงานของอุปกรณ์ อุปกรณ์ตรวจจับแบบนี้ที่ใช้ทั่วไปจะเป็นแบบลำแสง (Beam Smoke Detector) ทำงานโดยที่แหล่งกำเนิดแสงจะส่องแสงผ่านพื้นที่ที่ต้องการป้องกันตรงไปที่ติดตั้งห่างออกไป ส่วนประกอบจะมีตัวฉายแสงและตัวรับแสงแยกเป็นคนละตัวกัน
รูปการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับควันแบบควันบังแสง
(ในสภาพปกติแสงจากแหล่งกำเนิดแสงผ่านอากาศไปถึงตัวรับแสงน้อยลง)
รูปการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับควันแบบควันบังแสง
(เมื่อมีควัน แสงจากแหล่งกำเนิดแสงจะไปถึงตัวรับแสงน้อยลง)
(2) แบบควันหักเหแสง (Light Scattering)
รูปการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับควันแบบควันหักเหแสง
(ในสภาพอากาศปกติแสงจากแหล่งกำเนิดจะไม่สะท้อนไปที่ตัวรับแสง)
รูปการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับควันแบบควันหักเหแสง
( เมื่ออากาศมีควัน แสงส่วนหนึ่งจะสะท้อนไปที่ตัวรับแสง )
6. อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้
เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้และอุปกรณ์ตรวจจับสามารถตรวจจับได้แล้ว อุปกรณ์แจ้งเหตุจะทำหน้าที่ส่งสัญญาณเตือนภัยให้ผู้อาศัยในอาคารทราบเหตุ แต่สิ่งสำคัญคือ การแจ้งเหตุต้องให้ผู้อาศัยในอาคารทราบอย่างทั่วถึง สามารถแจ้งเหตุได้รวดเร็วเพื่อให้ผู้อาศัยมีเวลาในการดับเพลิง หรือมีเวลาพอสำหรับการอพยพหนีไฟ
รูปตัวอย่างอุปกรณ์แจ้งเหตุ
อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยเสียงและอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยแสง อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยเสียง เช่น กระดิ่ง หวูด ไซเรน และลำโพง และชนิดที่แจ้งเหตุด้วยแสง เช่น สโตรบ อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยแสงนี้จะใช้กับสถานที่ที่มีเสียงดังมากไม่สามารถแจ้งเหตุด้วยเสียงได้ หรือในสถานที่ที่มีบุคคลที่มีปัญหาการได้ยินอาศัยอยู่ หรือในสถานพยาบาล ปัจจุบันพบว่าผู้สูงอายุจำนวนมากมักมีปัญหาการได้ยิน การแจ้งเหตุด้วยแสงจึงมีความสำคัญและมีประโยชน์มาก
6.1 การแจ้งเหตุด้วยเสียง คือการส่งสัญญาณเสียงเตือนขณะเกิดเหตุเพื่อให้ผู้อาศัยทราบและสามารถอพยพได้ทัน
6.2 การแจ้งเหตุด้วยแสง การแจ้งเหตุด้วยแสง คือ การส่งสัญญาณเตือนด้วยแสงกระพริบที่มีความสว่างเพียงพอที่จะกระตุ้นเตือนให้ผู้อาศัยในอาคารทราบการเกิดเหตุ และในกรณีที่มีคนหูหนวกไม่ได้ยินเสียงต้องใช้แสงแทน
การตรวจสอบ ทดสอบ และบำรุงรักษา
ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องมีการตรวจสอบและทดสอบทั้งเมื่อทำการติดตั้งแล้วเสร็จและตามระยะเวลาที่เหมาะสม จุดประสงค์เพื่อให้ระบบใช้งานได้ดีตามต้องการ มีความเชื่อถือได้สูง และอยู่ในสภาพที่พร้อมจะทำงานได้อย่างสมบูรณ์เมื่อเกิดเหตุ การดำเนินการควรเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของอาคาร ผู้ดูแล
7.อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน
อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับตรวจจับความร้อนของวัตถุที่ถูกไฟไหม้ ความร้อนจากการเผาไหม้ของวัตถุ เกิดจากการเพิ่มขึ้นของพลังงานและเป็นสาเหตุให้วัตถุมีอุณหภูมิสูงขึ้น อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนสามารถตรวจจับการเกิดเพลิงไหม้ที่ให้ความร้อนสูงอย่างรวดเร็วและมีควันน้อยได้เร็วกว่าอุปกรณ์ตรวจจับควัน หรือใช้เพื่อป้องกันเพิ่มเติมจากอุปกรณ์ตรวจจับควันก็ได้ แต่จะใช้แทนอุปกรณ์ตรวจจับควันไม่ได้
รูปตัวอย่างอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน
7.1 หลักการทำงาน
อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนทำงานจากความร้อนที่ตรวจจับได้ แบ่งลักษณะการตรวจจับออกเป็น 2 แบบ คือ แบบอุณหภูมิคงที่ (Fixed Temperature ) และแบบอัตราเพิ่ของอุณหภูมิ และแบบอัตราเพิ่ของอุณหภูมิ ( Rated-of-Rise ) อุปกรณ์ตรวจจับบางตัวจะทำงานได้ทั้งสองหน้าที่
7.1.1 แบบอุณหภูมิคงที่ ( Fixed Temperature ) เป็นอุปกรณ์ที่ตรวจจับแบบที่ง่ายที่สุด จะทำงานเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นถึงจุดที่ตั้งไว้ ที่ใช้งานทั่วไปจะเริ่มตั้งแต่ 58 องศาเซลเซียส ( 135 องศาฟาเรนไฮท์ ) ขึ้นไป อาจแตกต่างกันไปตามแต่ละมาตรฐานการผลิต
รูปอุปกรณ์ตรวจจับความร้อนแบบอุณหภูมิคงที่ ชนิดโลหะผสมหลอมละลาย
7.1.2 แบบอัตราเพิ่มของอุณหภูมิ ( Rated-of-Rise ) อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนแบบอัตราเพิ่มของอุณหภูมิทำงานเมื่อการเพิ่มของอุณหภูมิสูงเกินอัตราพิกัดที่กำหนดเช่น 8.5 องศาเซลเซียสต่อนาที
( 15 องศาฟาเรนไฮท์ต่อนาที )
7.1.3 อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนแบบผสม ( Combination ) อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนแบบผสม เป็นการผสมการทำงานระหว่างแบบอุณหภูมิคงที่และแบบอัตราเพิ่มของอุณหภูมิ เมื่อค่าใดค่าหนึ่งเป็นไปตามที่กำหนด อุปกรณ์จะทำงาน อุปกรณ์ตรวจจับแบบนี้จึงสามารถตรวจจับความร้อนได้ดีกว่าแบบอุณหภูมิคงที่
|